The 1975 กับจุดยืนเพื่อสังคม ที่ทุกคนต้องฉุดคิดตาม
Share this

    เรื่องราวที่ถูกถ่ายทอดผ่านเนื้อร้อง พร้อมส่งต่ออารมณ์ด้วยเสียงดนตรี ประกอบกันเป็นเพลงที่สื่อถึงเรื่องราวต่างๆ ได้อย่างลงตัว ซึ่งเพลงส่วนใหญ่ก็มักจะนำเสนอความรู้สึกต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับศิลปินเองหรือได้รับแรงบันดาลใจมาจากคนอื่น เรียกว่านำเสนอแบบ Play Safe ซึ่งเป็นการจรรโลงใจและผ่อนคลายอารมณ์ด้วยดนตรี แต่ในอีกมุมหนึ่งที่เพลงก็สามารถนำเสนอได้เหมือนกันนั่นคือเมสเซจบางอย่าง ทั้งในเรื่องของสังคม สิ่งแวดล้อม หรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นของสังคมในขณะนั้น ซึ่งสุดจะตรงกันข้ามกับในนิยายและเส้นทางสวยงามเหล่านั้นอาจไม่ใช้ทางของ The 1975 อีกต่อไป 
วงดนตรีอินดี้ร็อค โดยมีสมาชิกทั้งหมด 4 คน  ซึ่งรู้จักและถูกจับตามองในเรื่องความสุดโต่งมาเสมอ ทั้งด้านดนตรีและเนื้อหาที่ค่อนข้างจะเสียดสีสังคม ด้วยเพลงแต่ละเพลงที่ถูกปล่อยมาไม่ว่าเพลงช้าชวนลอย เพลงเร็วชวนกระโดด แน่นอนว่าพวกเขาเลิกสนใจคำว่า Play Safe ไปนานแล้วจริงๆ จากการให้สัมภาษณ์กับสื่อหลายแขนงถึงอุดมคติของวงไว้ว่า
“ผู้คนจำเป็นต้องออกมาพูดถึงเรื่องแย่ๆ ที่เกิดขึ้นสิ มีวงดนตรีไม่เยอะหรอกนะที่ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของโลกเหมือนกับพวกเรา ในเมื่อเป็นอย่างนี้แล้ว…คุณจะไม่ให้ผมเปิดปากพูดอะไรเลยเหรอ”  แมตตี้ ฮีลีย์ ฟรอนต์แมนวง The 1975
ก็ชัดเจนถึงแนวคิดและอุดมคติของวงอย่างเห็นได้ชัดเจนจริงๆ ในอัลบั้มแรกของวงชื่อว่า The 1975 (มีที่มาจากปกหลังของหนังสือนิยายเรื่อง 'On The Road’ แต่งโดย Jack Kerouac) เนื้อหาของอัลบั้มแรกเป็นการบอกเล่าถึงมุมมองความรักแบบที่ไม่สมหวังและยาเสพติด ภาพลักษณ์ในพาร์ทเพลงก็แสดงออกมาแบบลอยๆ แต่ก็ด้วยการถ่ายทอดเนื้อหาแบบตรงไปตรงมา ทำให้เข้าไปอยู่ในเพลย์ลิสต์ของใครหลายๆ คน เพลงที่ทำให้ “Chocolate” “Robbers” และ “Sex” ที่ทำให้พวกเขาได้เปิดตัวอย่างสวยงามในนาม The 1975 ดูเหมือนจะเป็นวงดนตรีวัยรุ่นทั่วไป ที่นำเสนอมุมมองความรักผ่านเสียงเพลงเท่า



ภาพจาก The 1975    
อัลบั้มที่ 2 ที่ชื่อว่า “I Like It When You Sleep, for You Are So Beautiful yet So Unaware of It”  แค่ชื่ออัลบั้มก็พอจะรู้ว่าอารมณ์ของเพลงนั้นได้เปลี่ยนไป โดยจะมีจังหวะที่เป็นออลเทอร์นาทิฟที่สนุกและหลากหลายมากขึ้น อย่างเพลง “Some Body Else” ที่ intro แรกที่ได้ยินก็ทำให้รู้สึกเคว้งคว้างเอามากๆ แล้วเริ่มสร้างอารมณ์ให้กับคนฟังไปทีละนิดด้วยเนื้อร้องสุดจะจี้ใจดำ





ภาพจาก The 1975


มาถึงอัลบั้มที่ 3 ที่ถือว่าเริ่มมีเนื้อหาที่สื่อว่าต้องการแสดงจุดยืนของ The 1975 ผ่านเพลงที่ปล่อยยออกมา ผ่านเนื้อหาของเพลงภายใต้อัลบั้ม “A Brief Inquiry into Online Relationships” จากเนื้อหาความรักทั่วไปได้เปลี่ยนมาเป็นเนื้อหาที่ตีแผ่สังคมผ่านบทเพลงมากขึ้น แถมบอกเล่าถึงความล้มเหลวของสิ่งที่มนุษย์ได้ก่อขึ้น โดยเริ่มจากการพูดถึงความสัมพันธ์แบบฉาบฉวยของโลกออนไลน์ อย่างเพลง “TOOTIMETOOTIMETOOTIME” ต่อด้วยเพลง “Love It If We Made It” ที่เรียกว่าเป็นเพลงที่รวมเรื่องราวต่างๆ ในสังคม ทั้งเรื่องการค้าทาส อาชญากรรมออนไลน์ ผลกระทบจากสงคราม ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นบนโลกของเรา ที่เกิดขึ้นพร้อมเหน็บแนมได้แบบเจ็บแสบสุดๆ แต่ทั้งหมดล้วนแต่เป็นเรื่องจริงที่ทุกคนรู้ดีเพียงแต่เพลงของพวกเขาทำให้คนฟังฉุดคิดขึ้นมาเท่านั้นเอง




ภาพจาก The 1975    
มาถึงอัลบั้มล่าสุดอย่าง “Notes on a Conditional Form” ที่ยังยืนยันจะแสดงจุดยืนบนสังคมเช่นเคยเปิดอัลบั้ม ด้วยเพลงที่มีชื่อว่า “The 1975” คือธรรมเนียมของวง ที่ทุกอัลบั้มจะต้องมีเพลงแรกเป็นชื่อของวงและสอดแทรกสารบางอย่างให้กับคนฟังมากกว่าการฟังเพลงแบบเพลินๆ โดยเพลงทั้งเพลงเป็นเสียงอ่านบทสุนทรพจน์ตลอดทั้ง 4.57 นาที โดยสาวน้อยสวีเดน วัย 17 ปี ชื่อ เกรตา ธันเบิร์ก (Greta Thunberg) นักกิจกรรมด้านสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ที่กำลังได้รับความสนใจอยู่ในขณะนั้น สร้างเสียงฮือฮาให้กับวงการเพลงเป็นอย่างมาก




ภาพจาก gretathunberg
ในปีเดียวกัน The 1975 ได้รับรางวัลวงยอดเยี่ยมแห่งปี (Band of The Year) จากเวที GQ Awards แถมแมตตี้ก็ยังเน้นย้ำถึงแนวคิดและจุดยืนที่ได้ร่วมงานกับเกรตา ด้วยการกล่าวบนเวทีว่า
“พวกเราร่วมงานกับ ‘เกรตา ธันเบิร์ก’ เราถึงได้รู้ว่าเธอต้องแบกรับอะไรไว้มากแค่ไหน มีคนปฏิบัติแย่ๆ ต่อเธอมากมาย แต่ไม่ว่าคุณจะคิดอย่างไรก็ตาม อย่างน้อยผมก็มองเห็นว่ายังคงมีคนที่ใส่ใจศิลปะ เรามาทำให้ศิลปะมีความหมายเพื่อใช้สิ่งนี้ในการต่อสู้กับอำนาจเถอะ”




ภาพจาก The 1975


หลายคนอาจคิดว่าการแสดงจุดยืนเพื่อสังคมของศิลปินเป็นการตัดโอกาสในเส้นทางของตัวเอง แต่เมื่อเรามองแบบไม่เบนเข็มไปทางใดทางหนึ่งก็จะเห็นว่า เพลงก็คือเพลง และเพลงยังคงเป็นศิลปะที่สวยงามเสมอ มาสร้างศิลปะที่เป็นคุณ ศิลปะที่มีชิ้นเดียวในโลก ศิลปะที่มีจุดยืนของมันเอง เอามาแชร์กันได้ที่นี่ Wham.asia 



ขอบคุณข้อมูลจาก Sepsakon
  https://sepsakon.com/article/the-1975-column)


Share this